ฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน กับปัญหาหัวล้านของผู้ชาย
เทสโทสเตอร์โรน (Testosterone) คือ ฮอร์โมนเพศที่สำคัญที่สุดของเพศชาย กระตุ้นและรักษาสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง ให้เราได้แสดงลักษณะความเป็นชาย การสร้างเชื้ออสุจิ, รวมทั้งความต้องการทางเพศ, ฮอร์โมนนี้จะเร่งให้เส้นผมบริเวณขมับและกลางกระหม่อมบางลง และมีอายุสั้นลง เส้นผมจะผลัดก่อนกำหนดบ่อยครั้ง กล้ามเนื้อและกระดูก เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นสมองจะควบคุมการสร้างเทสโทสเตอร์โรนซึ่งผลิตจากลูกอัณฑะ ภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำ หรือภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ เป็นสาเหตุของอาการต่างๆ ดังนี้
- มีความต้องการทางเพศลดลง
- ภาวะแข็งตัวได้ไม่สมบูรณ์ของอวัยวะเพศชาย
- ปริมาณของตัวอสุจิมีจำนวนน้อย
- หน้าอกโตขึ้น
ทำไม ฮอร์โมนเพศชายต่ำ ?
อาการฮอร์โมนเพศชายต่ำอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บที่ลูกอัณฑะ (เช่น แผลบาดเจ็บ, การทำหมัน, การฉายรังสี หรือ การทำเคมีบำบัด) การติดเชื้อที่ลูกอัณฑะ
ความผิดปกติทางด้านฮอร์โมน (เช่น โรคหรือเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง, ฮอร์โมนโปรแลคติน (prolactin) อยู่ในระดับสูง)
โรคที่เกี่ยวกับระบบต่างๆ (เช่น โรคเอดส์ โรคตับและไตเรื้อรัง ไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วนที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวานชนิดนี้)
การรักษาโรคด้วยยาบางชนิด และโรคที่เกิดจากพันธุกรรม (เช่น Klinefelter syndrome, hemochromatosis, Kallmann syndrome, Prader-Willi syndrome และ Mytonic dystrophy) อาจเป็นสาเหตุของภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำได้ ชายสูงอายุส่วนใหญ่จะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอยู่ในระดับต่ำ และหลายๆ คนในจำนวนนั้นก็ไม่อาจทราบได้ว่ามีสาเหตุจากอะไร
ฮอร์โมนเพศต่ำวัดจากอะไร ?
แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อดูการกระจายของขนตามร่างกายว่าเป็นไปตามลักษณะของเพศชายหรือไม่ ตรวจวัดขนาดของหน้าอก ความสม่ำเสมอและขนาดของอัณฑะ ถุงอัณฑะ และอวัยวะเพศด้วย ตรวจเลือดเพื่อประเมินค่าระดับแสดงฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของคุณอยู่ในระดับปกติหรือไม่ ในการเข้ารับการตรวจเพื่อประเมินภาวะฮอร์โมนเพศต่ำนั้น คุณอาจต้องใช้เวลาในการตรวจมากกว่า 1 วันในช่วงเช้า (7:00-10:00 น.) มากกว่า 1 ครั้ง เพื่อตรวจเลือด และการตรวจอื่นๆ เพื่อวัดค่าฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ที่อาจมีร่วมด้วย
ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำรักษาได้อย่างไร
การรักษาแบบให้ฮอร์โมนเสริมจะสามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพโดยทั่วๆ ไปของผู้ชายดีขึ้นได้ เช่น เพิ่มความรู้สึกทางอารมณ์และการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น มีพลังและความกระฉับกระเฉงมากขึ้น และยังพัฒนาเรื่องต่างๆ นี้ให้มากขึ้นด้วย ได้แก่ ความสนใจในเรื่องทางเพศ การงอกของขนตามร่างกาย ความหนาแน่นของกระดูก และมวลกล้ามเนื้อ วิธีการรักษาแบบเสริมฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีหลายวิธี ได้แก่
- การฉีด
- การแปะแผ่นที่ผิวหนัง
- การทาเจล
- การให้ยารับประทาน
วิธีการใดเป็นวิธีที่ดีที่สุดนั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ ความชอบและความอดทนของผู้ป่วย รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วย ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลตามมาตรฐานสากลเพื่อให้บรรลุผลที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น